
Micro Full Moon
โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอเชิญส่อง จันทรุปราคาเต็มดวง (พระจันทร์สีเลือด) วันที่ 28 กรกฎาคม 2561 เริ่มคลาดเวลา 01:35-05:05 น. (คืนวันที่ 27 กรกฎาคม 2561)และเป็นวันที่ดวงจันทร์มีขนาดเล็กที่สุด ที่เรียกว่า ไมโครฟลูมูน (Micro Full Moon) ซึ่งเป็นวันที่ดวงจันทร์ “เต็มดวงและโคจรอยู่ห่างจากโลกที่สุด” .
-
conjunction
วันพุธที่ 23 มกราคม 2019 เวลา 03:19 น. -
ส่องชมจันทร์ วันลอยกระทง ปี 2561
วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2018 เวลา 09:14 น. -
งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ ๖๘ ปีการศึกษา ๒๕๖๑
วันศุกร์ที่ 13 กรกฏาคม 2018 เวลา 09:48 น. -
Micro Full Moon
วันศุกร์ที่ 06 กรกฏาคม 2018 เวลา 10:08 น. -
BLUE MOON2
วันอังคารที่ 09 มกราคม 2018 เวลา 08:09 น.


....แม้คืนดังกล่าวเป็นคืนข้างขึ้น แต่ดวงจันทร์จะตกลับขอบฟ้าเวลาประมาณ 01.30 น. เมื่อไร้อิทธิพลของแสงจันทร์รบกวน ช่วงเวลาเหมาะสมที่สุดในการรับชมฝนดาวตกจึงเป็นเวลาประมาณ 02.00 น. เป็นต้นไป แนะชมในที่มืดสนิทจะเห็นชัดยิ่งขึ้น สำหรับการถ่ายภาพฝนดาวตก เนื่องจากฝนดาวตกกระจายทั่วท้องฟ้า ไม่สามารถระบุทิศทางได้ ช่างภาพจึงต้องอาศัยการคาดเดาและการกะจังหวะเปิดหน้ากล้องค้างไว้
....“ฝนดาวตกลีโอนิดส์” หรือ “ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต” เป็นฝนดาวตกที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี เกิดจากสายธารเศษฝุ่นของดาวหาง 55พี เทมเพล-ทัตเทิล (55P Tempel-Tuttle) ตัดผ่านวงโคจรของโลก เมื่อเศษฝุ่นของดาวหางเสียดสีกับชั้นบรรยากาศโลก จึงเกิดการเผาไหม้เป็นแสงสว่างวาบคล้ายลูกไฟวิ่งพาดผ่านท้องฟ้า ผนวกกับทิศทางวงโคจรของเศษฝุ่นนั้นสวนทางกับทิศทางวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ทำให้เม็ดฝุ่นที่เข้ามาเสียดสีกับบรรยากาศโลกมีความเร็วสูงถึง 71 กิโลเมตรต่อวินาที แสงวาบที่เห็นจึงสว่างสุกสกาว เป็นที่มาของฝนดาวตกที่มีความสว่างมากที่สุด จนได้สมญา “ราชาแห่งฝนดาวตก”
....ชวนชม “ฝนดาวตกลีโอนิดส์ – ราชาแห่งฝนดาวตก” หลังเที่ยงคืนวันที่ 17 พ.ย. 61 เวลาประมาณตี 2 เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้าวันที่ 18 พ.ย. 61 อัตราการตกสูงสุดเฉลี่ย 10-15 ดวงต่อชั่วโมง ช่วงดังกล่าวปราศจากแสงจันทร์รบกวน เหมาะแก่การสังเกตการณ์อย่างยิ่ง ดูได้ด้วยตาเปล่าทั่วไทย ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณกลุ่มดาวสิงโต
(ที่มา) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) : http://www.narit.or.th/